codeshoutbox

วันศุกร์ที่ 30 กรกฎาคม พ.ศ. 2553

สืบค้นเว็บที่เกี่ยวข้องกับเรื่องที่กำลังศึกษา ( 20 เว็บ )

ส่วนประกอบของคลื่น
สันคลื่น (Crest) เป็นตำแหน่งสูงสุดของคลื่น หรือเป็นตำแหน่งที่มีการกระจัดสูงสุดในทางบวก
ท้องคลื่น (Crest) เป็นตำแหน่งต่ำสุดของคลื่น หรือเป็นตำแหน่งที่มีการกระจัดสูงสุดในทางลบ
แอมพลิจูด (Amplitude) เป็นระยะการกระจัดมากสุด ทั้งค่าบวกและค่าลบ
ความยาวคลื่น (wavelength) เป็นความยาวของคลื่นหนึ่งลูกมีค่าเท่ากับระยะระหว่างสันคลื่นหรือท้องคลื่น ที่อยู่ถัดกัน ความยาวคลื่นแทนด้วยสัญลักษณ์ มีหน่วยเป็นเมตร (m)
ความถี่ (frequency) หมายถึง จำนวนลูกคลื่นที่เคลื่อนที่ผ่านตำแหน่งใด ๆ ในหนึ่งหน่วยเวลา แทนด้วยสัญลักษณ์ มีหน่วยเป็นรอบต่อวินาที (s-1) หรือ เฮิรตซ์ (Hz)
คาบ (period) หมายถึง ช่วงเวลาที่คลื่นเคลื่อนที่ผ่านตำแหน่งใด ๆ ครบหนึ่งลูกคลื่น แทนด้วยสัญลักษณ์ มีหน่วยเป็นวินาทีต่อรอบ (s)
อัตราเร็วของคลื่น (wave speed) หาได้จากผลคูณระหว่างความยาวคลื่นและความถี่
ที่มา
http://thaigoodview.com/node/28923

http://thaigoodview.com/node/28923?page=0%2C1

คุณสมบัติของคลื่น
คุณสมบัติ พื้นฐานของ คลื่น ต่างๆ สามารถ พิจารณา ได้ 4 ประการ ซึ่งมี
1. การสะท้อนกลับ ( Reflection )
2. การหักเห (Refraction)
3. การแพร่กระจายคลื่น (Diffraction )
4. การแทรกสอดของคลื่น ( Interference )
ที่มา
http://irrigation.rid.go.th/rid17/Myweb/machanical/commu/vorapot1.html

http://www.skn.ac.th/skl/skn42/phy67/function.htm

คลื่น
คลื่นเกิดจากการส่งต่อพลังงานของอนุภาคตัวกลางจากอนุภาคหนึ่งไปยังอนุภาคที่อยู่ข้างเคียง ขณะที่เกิดคลื่นขึ้นทุกอนุภาคบน ตัวกลางก็จะสั่นกลับมารอบตำแหน่งสมดุลโดยไม่มีการเคลื่อนที่ตามคลื่นไป ลักษณะคลื่นแบบนี้เรียกว่า คลื่นกล (mechanical waves) เช่นเมื่อมีการรบกวนบนผิวน้ำนิ่งโดยการโยนก้อนหินลงไปในสระ อนุภาคของน้ำจะสั่นขึ้นและลงรอบตำแหน่งสมดุล ทำให้ เกิดเป็นคลื่นขึ้น โดยคลื่นจะแผ่จากตำแหน่งที่ก้อนหินกระทบผิวน้ำออกไปรอบ ๆ ตำแหน่งนั้นทุกทิศทางเป็นรูปวงกลม ติดต่อกันไป

ที่มา
http://www.rmutphysics.com/physics/oldfront/95/wave1/wave_1.htm

อัตราเร็วคลื่นในตัวกลางชนิดต่าง ๆ
เมื่อตัวกลางถูกรบกวนจะเกิดการคลื่นแผ่ไปในตัวกลาง โดยอัตราเร็วคลื่นขึ้นอยู่กับความยืดหยุ่นของตัวกลางที่คลื่นเคลื่อนที่ผ่าน ซึ่งอัตราเร็วในตัวกลางต่าง ๆ มีดังนี้
1. อัตราเร็วของคลื่นตามขวางในเส้นเชือก
2. อัตราเร็วของคลื่นตามยาวในท่อ
3 อัตราเร็วของเสียงในของแข็ง

ที่มา
http://www.rmutphysics.com/physics/oldfront/95/wave1/wave_3.htm

http://www.rmutphysics.com/physics/oldfront/95/wave1/wave_1.htm

คลื่นนิ่งในเส้นเชือกที่ตรึงปลายทั้ง 2 ข้าง
ถ้าเชือกยาว L ถูกขึงตรึงที่ปลายทั้งสองข้าง เมื่อเชือกถูกดีดจะทำให้เกิดคลื่นตามขวางขึ้นในเส้นเชือกคลื่น ตรงปลายที่ตรึงแน่น ทั้งสองข้างจะเป็นตำแหน่งบัพ (node) โดยระหว่างปลายตรึงจะเกิดกี่บัพก็ได้
ที่มา
http://www.rmutphysics.com/physics/oldfront/95/wave1/wave_9.htm

คลื่นนิ่งในท่อ
เครื่องดนตรีประเภทเครื่องเป่าได้แก่ ขลุ่ย , ทรัมเป็ต , แซกโซโฟน อาศัยหลักการทำให้เกิดคลื่นนิ่งในท่ออากาศ โดยท่ออากาศ ที่ใช้มี 2 แบบ คือ ท่อปลายเปิด (opened pipe) และ ท่อปลายปิด (closed pipe)
ที่มา
http://www.rmutphysics.com/physics/oldfront/95/wave1/wave_10.htm


แ ส ง (light)
• ภาพที่เกิดจากกระจกราบ ศึกษาภาพที่เกิดจากกระจกเงาราบ
• ภาพที่เกิดจากกระจกโค้ง ศึกษาการเกิดภาพจากกระจกโค้งเว้าและกระจกโค้งนูน
• เล่นกับกระจกเงาราบ ศึกษาภาพที่เกิดจากกระจกราบ 1 บาน 2 บาน และเกมส์
• การเกิดเงา ศึกษาการเกิดเงาของวัตถุ
• การหักเหของแสง ศึกษากฏการหักเห
• การหักเหของแสงผ่านปริซึม ศึกษาการหักเหของแสงผ่านปริซึม
• การทดลองภาพที่เกิดจากเลนส์ ศึกษาภาพที่เกิดจากเลนส์นูนและเลนส์เว้า
• การทดลองภาพที่เกิดจากกระจกและเลนส์อีกแบบหนึ่ง ภาพที่เกิดจากกระจก(นูน-เว้า)และเลนส์(เว้า-นูน)
• การทดลองภาพที่เกิดจากกระจกและเลนส์ ศึกษาการเกิดภาพจากกระจกโค้ง(เว้า-นูน)และแลนส์(เว้า-นูน) สามารถใช้กระจกและเลนส์มากกว่า 1 ชิ้นได้
• การสะท้อนและการหักเห ศึกษาการสะท้อน การหักเห ของแสงผ่านรอยต่อของตัวกลาง ตามหลักของฮอยแกน
• การทดลองการแทรกสอดจากช่องคู่ ศึกษาการแทรกสอดจากช่องคู่
• การแทรกสอดของแสงจากเกรตติง ศึกษาสเปกตรัมที่เกิดจากการมอลแสงผ่านเกรตติง
• การเลี้ยวเบนของแสงจากช่องเดี่ยว ศึกษาการเลี้ยวเบนของแสงจากช่องเดี่ยว
• การผสมแสงสี ศึกษาเกี่ยวกับการผสมของแสงสี ปฐมภูมิและแสงสีทุยภูมิ
• แสงสีและการมองเห็นแสงสี ศึกษาเกี่ยวกับแสงสีและการผสมของแสงสีต่าง ๆ
• โพลาไรซ์เซชั่นของแสง ศึกษาเกี่ยวกับแสงโพลาไรซ์
• แผ่นโพลารอยด์ ศึกษาการให้แสงผ่านของแผ่นโพลารอยด์
• การกระจายของแสง ศึกษาเกี่ยวกับการกระจายของแสงผ่านปริซึมและการเกิดรุ้งกินน้ำ
กลับไปยังหน้าหลัก
ที่มา
http://www.pt.ac.th/ptweb/prajead/light/sang1.html

http://www.bkw.ac.th/content/snet3/dr_sutat/l_earth.htm

http://www.bs.ac.th/lab2000/physicweb/light.htm

เสียง
เป็นคลื่นกลที่ใช้อากาศเป็นพาหะ เกิดจากการสั่นสะเทือนของวัตถุ เมื่อวัตถุสั่นสะเทือน ก็จะทำให้เกิดการอัดตัวและขยายตัวของคลื่นเสียง และถูกส่งผ่านตัวกลาง เช่น อากาศ ไปยังหู แต่เสียงสามารถเดินทางผ่านก๊าซ ของเหลว และของแข็งก็ได้ แต่ไม่สามารถเดินทางผ่าน สุญญากาศ เช่น ในอวกาศ ได้

เมื่อการสั่นสะเทือนนั้นมาถึงหูของเรา มันจะถูกแปลงเป็นพัลส์ประสาท ซึ่งจะถูกส่งไปยังสมอง ทำให้เรารับรู้และจำแนกเสียงต่างๆ ได้
ที่มา
http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B9%80%E0%B8%AA%E0%B8%B5%E0%B8%A2%E0%B8%87

http://www.cmw.ac.th/elibrary/fileselibrary/Science/oraphin001/index.html

http://www.muslimthai.com/main/1428/content.php?category=110&id=5119

สมบัติของเสียง
เสียงสามารถแสดงสมบัติของคลื่นได้หมด ได้แก่
1. การสะท้อนของเสียง เช่น การตะโกนในถ้ำ หรือในห้องโถงขนาดใหญ่ที่ปิดประตูหน้าต่างหมด พบว่าจะเกิดเสียงสะท้อนครั้งเดียวหรือหลายครั้ง แสดงว่าเสียงมีการหักเหได้
2. การหักเห เช่น การเกิดฟ้าแลบแล้วไม่ได้ยินเสียงฟ้าร้อง เนื่องจากเสียงมีการหักเหกลับไปในอากาศชั้นบนอีกครั้งหนึ่ง แสดงว่าเสียงมีการหักเหได้
3. การแทรกสอด เมื่อใช้ลำโพงตัวเดียวต่อเข้ากับเครื่องกำเนิดเสียงพบว่ารอบ ๆ ลำโพงจะได้ยินเสียงสม่ำเสมอ แต่เมื่อใช้ลำโพงสองตัวต่อเข้ากับเครื่องกำเนิดเสียง 2 เครื่องซึ่งให้ความถี่เสียงเท่ากันพบว่า ที่ตำแหน่งต่างกันจะได้ยินเสียงดังและค่อย ถ้าเปรียบเทียบกับการแทรกสอดของคลื่นน้ำ พบว่าตำแหน่งที่ได้ยินเสียงดังและค่อย เป็นตำแหน่งที่มีการแทรกสอดกันแบบเสริมและหักล้างแสดงว่าเสียงมีการแทรกสอดได้
4. การ เลี้ยวเบนของเสียง เช่น การได้ยินเสียงจากภายนอกห้อง ที่ผู้ฟังมองไม่เห็นแหล่งกำเนิดหรือผู้ฟังได้ยินเสียงจากแหล่งกำเนิดที่ อยู่คนละฝั่งของกำแพง ซึ่งจากตัวอย่างที่ยกมานี้ แสดงว่าเสียงมีการเลี้่ยวเบนได้จริง
ที่มา
http://www.cmw.ac.th/elibrary/fileselibrary/Science/oraphin001/Properties.html

คุณสมบัติของเสียง
1. คุณสมบัติของเสียงขับร้องของมนุษย์
ในธรรมชาติเสียงของมนุษย์สามารถปรับระดับเสียงสูง-ต่ำได้ ซึ่งมีลักษณะคล้ายกับเสียงดนตรี จึงถือว่าเสียงมนุษย์เป็นเสียงดนตรีชนิดหนึ่ง ซึ่งมนุษย์ได้พัฒนาการปรับเสียงสูง-ต่ำ จนกลายเป็นเสียงขับร้องที่ไพเราะได้ โดยเริ่มจากการสวดมนต์ การขอพรจากเทพเจ้าหรือสิ่งศักดิ์สิทธิ์ การขับลำนำ การอ่านคำประพันธ์ การขับเสภา ตามลำดับจนเป็นการขับร้องประเภทต่าง ๆ ในที่สุด นอกจากนี้ เสียงของมนุษย์ยังมีลักษณะเฉพาะ ซึ่งแตกต่างกันไปตามเพศและวัยอีกด้วย เช่น เสียงเด็กและผู้หญิงมักจะเสียงเล็กแหลม เสียงผู้ชายจะมีเสียงทุ้มใหญ่ เป็นต้น
2. คุณสมบัติของเสียงดนตรี
เสียงดนตรีเป็นเสียงที่มีระดับเสียงสูง-ต่ำ เหมือนกับเสียงของมนุษย์ แต่จะเป็นระบบมากกว่า ซึ่งมีพัฒนาการมาจากการขับลำนำ และการบรรเลงเครื่องดนตรีประกอบพิธีกรรมทางศาสนา และความเชื่อต่อมามีการพัฒนาเครื่องดนตรีและวิธีการบรรเลงดนตรีได้หลากหลายวิธี ทำให้เสียงดนตรีมีระดับสูง-ต่ำมากขึ้นและมีลักษณะของเสียงเพิ่มขึ้นหลายเสียง
ที่มา
http://www.trueplookpanya.com/true/knowledge_detail.php?mul_content_id=2714

บีตส์
บีตส์เกิดจากแหล่งกำเนิดเสียง 2 แหล่งที่มีความถี่ต่างกันไม่มากนักเมื่อเกิดเสียงพร้อมกันจะทำให้คลื่นเสียงจากแหล่งกำเนิดทั้งสองรวมกัน(ตามหลักการรวมกันของคลื่น) จึงทำให้คลื่นลัพธ์มีลักษณะที่แตกต่างไปจากเดิม เป็นผลทำให้เกิดเสียงดัง-ค่อย-ดัง-ค่อย สลับกัน เราเรียกจำนวนเสียงดังค่อยต่อวินาทีว่าความถี่บีตส์ ปกติ เราจะได้ยินเสียงบีตส์ไม่เกิน 10 ครั้งต่อวินาที(ตามทฤษฎี) แต่ในทางปฏิบัติจะไม่ถึงครับ
ข้อคิด จะเกิดบีตส์(ที่เราได้ยินได้) แหล่งกำเนิดทั้งสองจะต้อง มีความถี่ไม่แตกต่างกันมาก(เกินกว่า 10 Hz) และแอมปลิจูดของคลื่นเสียงทั้งสองจะต้องแตกต่างกันไม่มาก
ที่มา
http://www.cmw.ac.th/elibrary/fileselibrary/Science/oraphin001/beats.html

คลื่นดลวงกลม
circular pulse wave
คลื่นดลที่เกิดขึ้นจากการรบกวนจุด ๆ หนึ่งบนตัวกลางที่มีสภาพยืดหยุ่น เช่น ที่ผิวน้ำเพียงครั้งเดียว หรือ 2 ครั้ง ทำให้เกิดคลื่นแผ่ขยายออกเป็นวงกลม รอบจุดนั้น

ความเฉื่อน
inertia
สมบัติประจำตัวของสสารในอันที่จะรักษาสภาวะการหยุดนิ่งหรือเคลื่อนที่ดังเดิมตลอดไป ความเฉื่อยของวัตถุขึ้นอยู่กับมวลของวัตถุ กล่าวคือ มวลมากความเฉื่อยมากมวลน้อยความเฉื่อยน้อย
ที่มา
http://www.electron.rmutphysics.com/physics-glossary/index.php?option=com_content&task=view&id=686&Itemid=62

คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า
เป็นคลื่นชนิดหนึ่งที่ไม่ต้องใช้ตัวกลางในการเคลื่อนที่ เช่น คลื่นวิทยุ คลื่นไมโครเวฟ

สมบัติของคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า
1. ไม่ต้องใช้ตัวกลางในการเคลื่อนที่
2. อัตราเร็วของคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าทุกชนิดในสุญญากาศเท่ากับ 299,792,458 m/s ซึ่งเท่ากับ อัตราเร็วของแสง
3. เป็นคลื่นตามขวาง
4. ถ่ายเทพลังงานจากที่หนึ่งไปอีกที่หนึ่ง
5. ถูกปล่อยออกมาและถูกดูดกลืนได้โดยสสาร
6. ไม่มีประจุไฟฟ้า
7. คลื่นสามารถแทรกสอด สะท้อน หักเห และเลี้ยวเบนได้
ที่มา
http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%84%E0%B8%A5%E0%B8%B7%E0%B9%88%E0%B8%99%E0%B9%81%E0%B8%A1%E0%B9%88%E0%B9%80%E0%B8%AB%E0%B8%A5%E0%B9%87%E0%B8%81%E0%B9%84%E0%B8%9F%E0%B8%9F%E0%B9%89%E0%B8%B2

http://www.school.net.th/library/snet3/saowalak/spectrum/spectrum.htm

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น